Part 3 พัฒนาฝีมือไปอีกขั้น

        

     2. รู้จักคอร์ด และการใช้คอร์ดกีตาร์

            ก่อนหน้านี้เราได้รู้จักคอร์ดเบื้องต้นกันมาแล้ว 4 คอร์ดได้แก่ C, Am, Dm, G7 คุณได้รู้ว่าคอร์ดดังกล่าวจับยังไงเล่นยังไงแล้วในเบื้องต้น คราวนี้ผมจะกล่าวลึกลงไปในรายละเอียด ได้แก่โครงสร้าง และการสร้างคอร์ด รวมถึงการตีคอร์ด และการเกากระจายคอร์ดในขั้นสูงขึ้น รวมถึงรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ

           2.1 คอร์ด และการสร้างคอร์ด

            ในส่วนที่แล้วเรารู้จักการเรียกชื่อ และการเขียนชื่อคอร์ดต่าง ๆ เรารู้จักคอร์ดเบื้องต้นกันบ้างแล้ว แต่คราวนี้เราจะมาดูรายละเอียด ในด้านโครงสร้างและการสร้างคอร์ด ซึ่งไม่ยากอย่างที่คิดครับแล้วคุณจะรู้ว่าตารางคอร์ดอาจไม่จำเป็นสำหรับคุณก็ได้

            คอร์ด คือกลุ่มของโน๊ตตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป ซึ่งมีโครงสร้างต่าง ๆ ดังในตารางนี้

ตารางที่ 1

คอร์ด

ชื่อคอร์ด

โครงสร้างของคอร์ด
% mojor 1  3  5
%m minor 1  b3  5
%7 seventh 1  3  5   b7
%m7 minor seventh 1  b3  5   b7
%6

sixth

1  3  5   6
%m6 minor sixth 1  b3  5   6
%dim diminished 1  b3  b5   6
%+ augmented 1  3  #5
%7sus4 seventh suspension four 1  4  5   b7
%sus suspension 1  4  5
%7+5 seventh augmented fifth 1  3  #5   b7
%7-5 seventh flat five 1  3  b5   b7
%7-9 seventh flat nine 1  3  5   b7  b9
%maj7 mojor seventh 1  3  5   7
%m7-5 minor seventh flat five 1  b3  b5   b7
%9 ninth 1  3  5   b7  9
%m9 minor ninth 1  b3  5   b7  9
%9+5 ninth augmented fifth 1  3  #5   b7  9
%9-5 ninth flat five 1  3  b5   b7  9
%maj9 major ninth 1  3  5   7  9
%11 eleventh 1  3  5   b7  9  11
%11+ eleventh augmented 1  3  5   b7 #11
%13 thirteenth 1  3  5   b7  9  13
%13b9 thirteenth flat ninth 1  3  5   b7  b9  13

%

7

seventh sixth 1   3  5  6  b7

6

%

9

ninth sixth 1   3  5  6  9

6

%+7 augmented seventh 1  3  #5   b7
%dim7 diminished seventh 1  b3  b5   6  b7
%m+7 minor augmented seventh 1  b3  #5   b7
%13sus4 thirteenth suspension four 1  3  4   5  b7  13
%m (add 9) minor add ninth 1  b3  5   9
%(add 9) add ninth 1  3  5   9
%9sus ninth suspension 1  3  4   5  b7  9

%

4 fourth ninth 1   3  4  5  9
9
%+11 augmented eleventh 1  3  #5   b7  11
%7+9 seventh augmented ninth 1  3  5   b7  #9
%+4 augmented fourth 1  3  4   #5

          จากตารางข้างบนนี้คุณจะทราบถึงโครงสร้างของคอร์ด ซึ่งตัวเลขในตารางช่องสุดท้ายหมายถึงลำดับของตัวโน๊ตในสเกลเมเจอร์ (ให้ดูในเรื่องสเกล) อาจจะเข้าใจคร่าว ๆ คือการไล่เสียงนั่นเอง เลข 1 คือโน๊ตตัวแรกของสเกล (เรียกว่า root) และ 2, 3, 4, 5 ก็เป็นโน๊ตในลำดับที่ 2, 3, 4, 5 ของสเกลนั่นเอง ลองดูตัวอย่างในสเกล C เมเจอร์   มีการไล่โน๊ตในสเกลเป็น C, D, E, F, G, A, B ดังนั้นโน๊ตตัวที่ 1 = C, 2 = D, 3 = E, 4 = F, 5 = G, 6 = A และ 7 = B

            คราวนี้ลองมาดูที่คอร์ด C เมเจอร์ คือ ช่องแรกของตาราง จะเห็นว่าโครงสร้างประกอบด้วย 1   3  5 เมื่อเทียบกับโน๊ตในสเกลแล้วจะได้ว่า C, E และ G ซึ่งก็คือโน๊ตที่เป็นโครงสร้างของคอร์ด C เมเจอร์นั่นเอง คุณลองเช็คดูตำแหน่งที่กดสายกับโน๊ตบนคอกีตาร์ ที่แสดงในรูปในหัวข้อที่แล้ว

            เห็นมั๊ยครับไม่ยากเลยคุณแค่จำโครงสร้างของคอร์ดที่สำคัญหรือเห็นบ่อย ๆ กับเข้าใจในเรื่องสเกลนิดหน่อยคุณก็สามารถสร้างคอร์ดเองได้แต่ในตอนนี้ผมจะใช้ตารางแสดงก่อนเพื่อจะได้ดูง่าย ๆ โดยตารางนี้จะแสดงโน๊ตในลำดับต่าง ๆ ของแต่ละสเกล

ตารางที่2

ชื่อคอร์ด

ลำดับของโน๊ตในสเกล

1 b3 3 4 b5 5 #5 6 b7 7 b9 9 #9 11 #11 13
C C Eb E F F# G G# A Bb B C# D Eb F F# A
C# (Db) C# E F F# G G# A Bb B C D Eb E F# G Bb
D D F F# G G# A Bb B C C# Eb E F G G# B
Eb (D#) Eb F# G G# A Bb B C C# D E F F# G# A C
E E G G# A Bb B C C# D Eb F F# G A Bb C#
F F G# A Bb B C C# D Eb E F# G G# Bb B D
F# (Gb) F# A Bb B C C# D Eb E F G G# A B C Eb
G G Bb B C C# D Eb E F F# G# A Bb C C# E
G# (Ab) G# B C C# D Eb E F F# G A Bb B C# D F
A A C C# D Eb E F F# G G# Bb B C D Eb F#
Bb (A#) Bb C# D Eb E F F# G G# A B C C# Eb E G
B B D Eb E F F# G G# A Bb C C# D E F G#

          ขั้นแรกนี้ให้ศึกษาจากตารางข้างบนนี้ก่อนซึ่งจะยิ่งทำให้คุณสะดวกมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับสเกล จากตัวอย่างที่แล้วคือคอร์ด C เมเจอร์ จากตารางแรกพบว่าคอร์ดเมเจอร์ประกอบด้วยโน๊ตลำดับที่ 1  3  5 จากนั้นไปดูตารางที่สองที่คอร์ด C และที่โน๊ตลำดับที่ 1 3  5 จะพบว่า 1= C, 3 = E, 5 = G ก็จะเหมือนกันกับหาจากสเกลนั่นเอง จากนั้นก็ไปหาตำแหน่งโน๊ตที่จะกดบนคอกีตาร์จากรูปในหัวข้อที่แล้ว

ตัวอย่างการสร้างคอร์ด D9 ขั้นแรกคุณต้องไปดูโครงสร้างของคอร์ด 9 (ninth) ว่ามีโน๊ตลำดับเท่าไรบ้างจากตารางที่ 1 ซึ่งจะพบว่าประกอบด้วย 1  3  5   b7  9 จากนั้นมาดูที่ตารางที่ 2 ที่ช่องของคอร์ด D จะได้ว่า 1 = D, 3 = F#, 5 = A, b7 = C และ 9 = E ขั้นต่อไปจึงไปดูที่รูปแสดงโน๊ตบนคอกีตาร์ว่าโน๊ตดังกล่าวอยู่ที่ตำแหน่งใดบนคอกีตาร์บ้างและที่สำคัญ โน๊ตแต่ละตัวต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมคือจับสะดวกและได้ครบทุกตัวโน๊ต ซึ่งเราพบว่าอาจจะจัดรูปนิ้วได้ 2 รูปง่าย ๆ คือ

d91.gif (3437 bytes)d92.gif (3300 bytes)

               ใน D9 แบบที่ 1นั้นอาจจะละเส้น 6 ไว้ก็ได้สำหรับในรูปตัว T คือการใช้นิ้วโป้งช่วยในการจับคอร์ด โดยการกำรอบคอกีตาร์ให้นิ้วโป้งอ้อมมากดสายที่ 6 ได้ ลองฝึกดูครับ เทคนิคนี้สามารถใช้กับการจับคอร์ด F ได้ด้วยคือไม่ต้องทาบทั้ง 6 เส้นดังตัวอย่างนี้

f.gif (3421 bytes)

่             จะเห็นว่าคุณทาบเพียง 2 สายเท่านั้นง่ายกว่าเยอะครับ การใช้นิ้วโป้งช่วยจับคอร์ดนั้นมีประโยชน์มากลองฝึกดูครับ แล้วลองปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ใช้กับการเล่นกีตาร์ของคุณดู

            สัญลักษณ์เส้นโค้ง ๆ ที่เห็นหมายถึงการทาบสายด้วยนิ้วเดียวนั่นเองดังเช่นใน D9 แบบที่สอง คุณใช้นิ้วชี้ทาบสาย 5 เส้นคือเส้น 1, 2, 3, 4 และ 5 แล้วใช้นิ้วกลางกดสาย 1 ที่ช่อง 8

             ดังนั้นคุณจะเห็นว่าไม่ยากเลยในการสร้างคอร์ดกีตาร์ เพียงแค่คุณจำโครงสร้างของคอร์ดหลัก ๆ   มีความเข้าใจในเรื่องโน๊ตดนตรีเล็กน้อย รู้จักการไล่เสียงหรือสเกลบ้าง และรู้ตำแหน่งโน๊ตต่าง ๆ บนคอกีตาร์ เท่านี้คุณสามารสร้างคอร์ดได้อย่างรวดเร็ว ตอนนี้ถ้าคุณยังไม่คุ้นเคยกับสเกลอาจจะใช้ตารางที่ 2 ในการหาโน๊ตก่อนก็จะสะดวกดีครับ

คอร์ดพื้นฐาน (Open Position Chord)

            คราวนี้เราจะมาดูซิว่ารูปคอร์ดพื้นฐานมีอะไรบ้าง ที่เรียกว่า open position chord เนื่องจากคอร์ดพื้นฐานนั้นจะเป็นการจับคอร์ดในรูปที่ง่ายและมีสายเปิดหรือสายที่ไม่ต้องกดมากที่สุด คืออาจจะกดไม่เกิน 3 สายก็จะได้คอร์ดออกมาต่อไปจะแสดงคอร์ดพื้นฐานใน key ต่าง ๆ

        1. คอร์ด C

c.gif (2875 bytes)

        2. คอร์ด G, G7

g.gif (2901 bytes)g7.gif (2914 bytes)

        3. คอร์ด D, D7, Dm

d.gif (2376 bytes)d7.gif (2879 bytes)dm.gif (2405 bytes)

        4. คอร์ด A, A7, Am

a.gif (2860 bytes)a7.gif (2277 bytes)am.gif (2860 bytes)

        5. คอร์ด E, Em

e.gif (2883 bytes)        em.gif (2296 bytes)

คอร์ดทาบ (bar chord)

            เพื่อน ๆ คงเคยได้ยินหรือรู้จักคอร์ดทาบกันมาบ้างแล้วนะครับ คอร์ดทาบคือการที่เราใช้นิ้วใดนิ้วหนึ่ง (ไม่จำเป็นต้องเป็นนิ้วชี้เสมอไป) พาดทับสายบนฟิงเกอร์บอร์ดตั้งแต่ 2 สายขึ้นไป ถ้าพาด 3 สายเรียกว่า half bar เป็นต้น ซึ่งหลาย ๆ คนอาจรู้จากคอร์ดทาบจากคอร์ด F และ Bb เป็นต้นและก็จะรู้สึกว่ามันยากที่จะเล่นและพยายามจะหลีกเลี่ยงมัน แต่คราวนี้เราจะมาดูประโยชน์ของ bar chord ว่ามันให้อะไรกับคุณบ้าง

            cool.gif (2606 bytes)จากหัวข้อเรื่องโน๊ตบนคอกีตาร์ คุณได้ทราบแล้วว่าเมื่อเราเลื่อนกดเฟร็ตที่สูงขึ้น 1 ช่อง เสียงจะสูงขึ้นครึ่งเสียง (#) และเมื่อเรากดต่ำลงมา 1 ช่อง เสียงจะลดลงครึ่งเสียง (b) เช่นกัน ดังนั้นเราจะใช้ประโยชน์กับความรู้นี้ในการสร้างคอร์ดต่าง ๆ จากคอร์ดทาบ ในขั้นแรกนี้ลองมาดูรูปคอร์ดหลัก ๆ ที่เป็นคอร์ดพื้นฐานกันก่อนนะครับ เช่น คอร์ด E และ A

e.gif (2883 bytes)        a.gif (2860 bytes)

            คุณลองสังเกตดูลักษณะการจับคอร์ดของ E กับ F หรือ A กับ Bb (ลองดูจากตารางคอร์ดหรือหนังสือเพลงทั่วไป) เมื่อคุณสังเกตดี ๆ แล้วก็จพบว่าจริง ๆ แล้ว คอร์ด E กับ F และ A กับ Bb(A#) นั้นฟอร์มการจับคอร์ดเหมือนกันทุกประการเลย เพียงแต่ F , Bb นั้นเกิดจาการเลื่อนฟอร์มการวางนิ้วของ E , A มา 1 ช่อง (หมายถึงเลื่อน 1 ช่อง ทั้ง 6 เส้น) ซึ่งคือเลื่อนสูงมาครึ่งเสียง ดังนั้นจาก E จะกลายเป็น F (เสียง F สูงกว่า E ครึ่งเสียง) และจาก A เป็น Bb (เสียง Bb สูงกว่า A ครึ่งเสียง)

            ในการจับคอร์ด E หรือ A นั้นเราไม่ได้ทาบแต่ที่ nut หรือสะพานสายบนนั้นเองที่เสมือนกับนิ้วเราทาบอยู่ คุณลองจินตนาการดูนะครับ เมื่อคุณเลื่อนฟอร์มนิ้วที่จับคอร์ดนั้นลงมา 1 ช่องเสียงจะสูงขึ้นครึ่งเสียง แต่ว่า nut ไม่สามารถเลื่อนตามนิ้วเราลงมาได้ดังนั้นเราจึงต้องใช้นิ้วเราทาบบนฟิงเกอร์บอร์ด เพื่อทำหน้าที่แทน nut นั่นเอง

bar-handf.gif (6004 bytes)bar-handa.gif (5003 bytes)

            เอาล่ะครับเมื่อคุณเลื่อนฟอร์มนิ้วมา 1 ช่องจาก E และ A ตอนนี้คุณจะได้คอร์ด F และ Bb (A#) ต่อไปคุณลองเลื่อนฟอร์มนิ้วทั้งหมดไปอีก 1 ช่องสิครับ ตอนนี้คุณจะได้คอร์ดอะไร ใช่แล้วครับเสียงคุณจะสูงมาอีกครึ่งเสียง ดังนั้นคอร์ด F จะกลายเป็น F# และ คอร์ด Bb จะกลายเป็น B นั่นเอง แล้วถ้าคุณเลื่อนขึ้นไป 5 ช่องล่ะ เสียงจะสูงขึ้น 2 1/2 เสียง หรือ 2 เสียงครึ่ง ถ้าเริ่มจากฟอร์มพื้นฐานคอร์ด E จะได้ว่า E - F - F#(Gb) - G - G#(Ab) - A คุณก็จะได้คอร์ด A แล้วถ้าเริ่มจากฟอร์มพื้นฐานคอร์ด A จะได้ว่า A - A#(Bb) - B - C - C# - D ซึ่งคุณก็จะได้คอร์ด D นั่นเอง ดูจาก 2 รูปข้างบนคุณก็แค่วางฟอร์มนิ้วตามรูปและเคลื่อนฟอร์มนิ้วทั้งหมดขึ้นลงตามฟิงเกอร์บอร์ด (จุดดำในรูปคือตำแหน่งเส้นและช่องที่ต้องกด)

            คราวนี้ลองมาดูรูปคอร์อื่น ๆ บ้างเช่น Em, Am  ;  E7, A7 เราสามารถใช้หลักการเดียวกันเพื่อสร้างคอร์ดอื่น ๆ จากการใช้การทาบและเลื่อนฟอร์มนิ้วไปบนฟิงเกอร์บอร์ด เช่นตัวอย่างข้างล่างนี้ เป็นการเลื่อนฟอร์มนิ้วไป 1 ช่องหรือทาบที่ช่องที่ 1 นั่นเอง

4-bar.gif (5108 bytes)

            แล้วถ้าเลื่อนฟอร์มนิ้วไปอีก 1 ช่องหรือทาบที่ช่องที่ 2 ล่ะครับลองมาดูกันว่าจะได้ผลยังไง

4-bar2.gif (5052 bytes)

            คงจะพอเข้าใจแล้วนะครับ และคุณสามารถใช้หลักการนี้ได้กับคอร์ดทุกประเภท ไม่ใช่แค่คอร์ด E กับ A เพียงแต่อยู่บนหลักการว่าต้องเลื่อนเป็นจำนวนช่องเท่ากันทั้ง 6 เส้น ถ้าเลื่อนสูงขึ้นหรือต่ำลง 1 ช่องก็ต้องสูงขึ้นหรือต่ำลง 1 ช่องเท่ากันทั้ง 6 เส้น

             ประโยชน์ของมันก็คือ คุณสามารถหาคอร์ดต่าง ๆ ได้มากมาย โดยการจำคอร์ดพื้นฐานหลัก ๆ เพียงไม่กี่รูปแบบ หรือคุณสามารถเปลี่ยน key ได้ง่าย ๆ เช่นเพลงนี้เสียงอาจจะต่ำไปสำหรับคุณ คุณก็อาจจะเลื่อนฟอร์มการจับคอร์ดทั้งหมดมา 2 ช่อง เพื่อให้เสียงสูงขึ้น 1 เสียงเต็มโดยการใช้การทาบหรือ bar สายมาช่วยเสมือนแทน nut และด้วยเหตุนี้เองจึงมีอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ช่วยในการเปลี่ยน key ดนตรี โดยที่คุณไม่ต้องเปลี่ยนคอร์ดเลย ทำให้การเปลี่ยน key ทำได้ง่ายขึ้นมาก

            เทคนิคในการจับคอร์ดทาบอย่างหนึ่งที่ผมอยากจะแนะนำคือการใช้นิ้วโป้งยันกับกึ่งกลางด้านหลังคอกีตาร์ มันจะช่วยเพิ่มแรงกดให้คุณจับคอร์ทาบได้โดยไม่บอด และอีกวิธีคือใช้นิ้วที่ว่างช่วยกดทับอีกทีทำให้แรงกดเพิ่มขึ้นซึ่งจะใช้ได้กับคอร์ดที่จับแบบ Bb7 โดยเราจะเหลือนิ้ว 1 นิ้วสามารถจะใช้มาช่วยกดทับนิ้วที่ทาบได้อีกแรงนึง

   CAPO

            จากส่วนที่แล้วการที่เราจะเปลี่ยนคอร์ดจาก E, A เป็น F, Bb นั้นหมายถึงคุณต้องใช้คอร์ดทาบตลอด สำหรับมือใหม่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ทั้งเจ็บและเมื่อยด้วย ดังนั้นคุณอาจจะใช้ capo (คลิ๊กเพื่อดูรายละเอียด) เพื่อทำหน้าที่แทน nut หรือการกดทาบนิ้วของคุณ เช่นเมื่อคุณคาด capo (อ่านว่า คาโป้) ที่ช่อง 1 ก็เสมือนว่าคุณเลื่อน nut มาอยู่ช่อง 1 หรือคุณกดทาบที่ช่อง 1 แล้วจากนั้นคุณก็จับคอร์ด E, A ตามปกติ แต่เสียงที่ได้จะเป็น F, Bb แทน โดยคุณไม่ต้องใช้นิ้วทาบให้เมื่อย ต่อไปนี้เป็นตารางแสดงการเปลี่ยน key ด้วยคาโป้

คอร์ดที่จับ

ช่องที่คาดคาโป้

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11
C C# (Db) D D# (Eb) E F F# (Gb) G G# (Ab) A A# (Bb) B
C# (Db) D D# (Eb) E F F# (Gb) G G# (Ab) A A# (Bb) B C
D D# (Eb) E F F# (Gb) G G# (Ab) A A# (Bb) B C C# (Db)
D# (Eb) E F F# (Gb) G G# (Ab) A A# (Bb) B C C# (Db) D
E F F# (Gb) G G# (Ab) A A# (Bb) B C C# (Db) D D# (Eb)
F F# (Gb) G G# (Ab) A A# (Bb) B C C# (Db) D D# (Eb) E
F# (Gb) G G# (Ab) A A# (Bb) B C C# (Db) D D# (Eb) E F
G G# (Ab) A A# (Bb) B C C# (Db) D D# (Eb) E F F# (Gb)
G# (Ab) A A# (Bb) B C C# (Db) D D# (Eb) E F F# (Gb) G
A A# (Bb) B C C# (Db) D D# (Eb) E F F# (Gb) G G# (Ab)
A# (Bb) B C C# (Db) D D# (Eb) E F F# (Gb) G G# (Ab) A
B C C# (Db) D D# (Eb) E F F# (Gb) G G# (Ab) A A# (Bb)

Power Chord

            บางคนอาจจะเคยได้ยินคำนี้มาบ้างแล้ว โดยเฉพาะกับการเล่นกีตาร์ไฟฟ้า เพลงร็อค เฮฟวี่เมทัล มักจะพบคอร์ดประเภทนี้บ่อยมาก เนื่องจากให้เสียงที่หนักแน่นสะใจดี จึงมักใช้กับเพลง pop rock หรือ heavy metal เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งโครงสร้างของ power chord นั้นง่ายมากครับ ลองย้อนกลับไปดูโครงสร้างของคอร์ดประเภทเมเจอร์ในส่วนที่แล้ว จะพบว่าคอร์ดเมเจอร์ประกอบด้วยโน๊ตตัวที่ 1 3 และ 5 ของสเกล โดยที่ power chord จะตัดโน๊ตตัวที่ 3 ออกไปจึงเหลือเพีงตัวที่ 1 และ 5   เนื่องจากโน๊ตตัวที่ 3 เป็นตัวที่แสดงความเป็นเมเจอร์หรือไมเนอร์ (ถ้าโน๊ตตัวที่ 3 ติด b จะกลายเป็นคอร์ไมเนอร์ ดูรายละเอียดในเรื่องโครงสร้างคอร์ด) ดังนั้น power chord จึงไม่แสดงความเป็นเมเจอร์หรือไมเนอร์

            ต่อไปเรามาดูวิธีการจับคอร์ดประเภทนี้นะครับ โดยปกติจะมีอยู่หลายแบบ คือแบบ power chord ที่โน๊ต root หรือโน๊ตตัวแรกของสเกล (ก็คือโน๊ตที่เป็นชื่อคอร์ดแหละครับ เช่น คอร์ด C โน๊ต root ก็คือ C) อยู่บนสาย 6 สาย 5 หรือสาย 4 หรือ power chord แบบจับ 2 เส้น แบบสองเส้นเปิด แบบจับ 3 เส้นและแบบ 3 เส้นเปิด ลองมาดูรายละเอียดกันครับ

            สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเส้นที่เป็น root หรือโน๊ตที่เป็นชื่อคอร์ดจะแสดงด้วยรูปสี่เหลี่ยม ch_pwr_3_note_mov_rt6.gif (1110 bytes) สัญลักษณ x หมายถึงเส้นที่ไม่ต้องเล่น และ o สายเปิด เวลาดีดจะดีดเฉพาะเส้นที่กดคือ 2 - 3 สาย และรวมสายเปิดด้วย

    power chord แบบจับ 2 เส้น มีประโยชน์มากเนื่องจากคุณสามารถเลื่อนฟอร์มนิ้วไปได้ตลอดทั้งฟิงเกอร์บอร์ดเพื่อเปลี่ยนคอร์โดยอาศัยหลักที่ได้รู้มาแล้วในหัวข้อเรื่อง bar chord

        - แบบที่ root อยู่บนเส้นที่ 6, 5 และ 4

 ch_pwr_2_note_mov_rt6.gif (1188 bytes)ch_pwr_2_note_mov_rt5.gif (1193 bytes)ch_pwr_2_note_mov_rt4.gif (1192 bytes)

        power chord แบบจับ 2 เส้นเปิด ซึ่ง root ของคอร์ดจะอยู่บนเส้นที่เปิดหรือไม่ได้กดนั่นเองโดยจะมีหลัก ๆ อยู่เพียง 3 คอร์ดคือ E5, A5 และ D5 (เลข 5 คือ power chord ซึ่งประกอบด้วย root หรือโน๊ตลำดับที่ 1 และโน๊ตลำดับที่ 5 ของสเกล)

        - แบบที่ root อยู่บนเส้นที่ 6, 5 และ 4

ch_pwr_2_note_op_rt6.gif (991 bytes)ch_pwr_2_note_op_rt5.gif (1011 bytes)ch_pwr_2_note_op_rt4.gif (995 bytes)

        power chord แบบจับ 3 เส้น เช่นเดียวกับ แบบกด 2 เส้นคุณสามารถเลื่อนฟอร์มนิ้วขึ้นลงได้ตลอดคอกีตาร์

        - แบบที่ root อยู่บนเส้นที่ 6, 5 และ 4

ch_pwr_3_note_mov_rt6.gif (1110 bytes) ch_pwr_3_note_mov_rt5.gif (1105 bytes)ch_pwr_3_note_mov_rt4.gif (1111 bytes)

           power chord แบบจับ 3 เส้นเปิด root เป็นสายเปิด 1 สาย เช่นเดียวกับแบบ 2 สาย คือจะมีหลัก ๆ อยู่เพียง 3 คอร์ดคือ E5, A5 และ D5

        - แบบที่ root อยู่บนเส้นที่ 6, 5 และ 4

ch_pwr_3_note_op_rt6.gif (1051 bytes)ch_pwr_3_note_op_rt5.gif (1054 bytes)ch_pwr_3_note_op_rt4.gif (1064 bytes)

 

          2.2 การตีคอร์ด (strum)

            การตีคอร์ดหรือ strumming เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการเล่นกีตาร์หมายถึงการดีดสายทั้ง 6 หรือบางสาย ของกีตาร์ในเวลาเดียวกันอาจจะดีดด้วยปิค หรือ นิ้วมือก็ได้ในทิศขึ้นหรือลงตามจังหวะ ซึ่งไม่ได้กำหนดว่ามีกี่แบบเพียงแต่ต้องดีดให้สอดคล้องกับจังหวะของเพลง ซึ่งในส่วนนี้ผมจะกล่าวถึงสัญลักษณ์และรูปแบบต่าง ๆ ในการตีคอร์ดเบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางให้คุณได้ฝึกและศึกษาการตีคอร์ดในแบบอื่น ๆ ต่อไป

สัญลักษณ์ทางการตีคอร์ด

            ก่อนอื่นผมขอแนะนำสัญลักษณ์ที่ใช้ในการตีคอร์ดก่อนนะครับ ได้แก่เครื่องหมายบอกถึงจังหวะความสั้นยาวของการตีคอร์ด ซึ่งจะคล้ายกับโน๊ตสากลนั่นเองลองดูกันครับ

สัญลักษณ์ ความหมาย
strum-s3.gif (953 bytes) เหมือนกับโน๊ตตัวกลม หรือมีค่าเป็น 4 จังหวะ (time signature 4/4)
strum-s2.gif (989 bytes) เหมือนกับโน๊ตตัวขาวประจุด หรือมีค่าเป็น 2+1 = 3 จังหวะ
strum-s1.gif (983 bytes) เหมือนกับโน๊ตตัวขาว หรือมีค่าเป็น 2 จังหวะ
strum-s.gif (966 bytes) เหมือนกับโน๊ตตัวดำ หรือมีค่าเป็น 1 จังหวะ
strum-s4.gif (981 bytes)หรือเมื่อเขียนหลายตัวติดกันstrum-s5.gif (1002 bytes) เหมือนกับโน๊ตเขบ็ต 1 ชั้น หรือมีค่าเป็น 1/2 จังหวะ
strum-mute.gif (974 bytes) เป็นการดีดเสียงบอด (ดูรายละเอียดในเรื่องเทคนิคการเล่น)

           

               นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์เกี่ยวกับทิศทางในการดีดกีตาร์คือการดีดขึ้นลงนั่นเอง

สัญลักษณ์ ความหมาย

tq_stums101_pick_strum_down.gif (64 bytes)

ดีดลงจากสาย 6 ไปหาสาย 1

tq_stums101_pick_strum_up.gif (58 bytes)

ดีดขึ้นจากสาย 1 ไปหาสาย 6

            ต่อไปเรามาดูรูปแบบการตีคอร์ดแบบต่าง ๆ และลองศึกษาการใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ดูนะครับ

           

แบบแรกเป็นแบบพื้นฐานก่อนนะครับ
strum-1.gif (2043 bytes) ดีดลง 4 จังหวะ ต่อ 1 ห้อง
แบบที่สองคล้ายกับแบบแรกแต่ดีดสลับขึ้นลง
strum-2.gif (2026 bytes) ดีดลง 1 จังหวะ สลับกับดีดขึ้น 1 จังหวะ

            ทั้ง 2 แบบข้างต้นนั้นเป็นการแสดงในแบบของระบบบรรทัด 5 เส้น ต่อไปเราจะมาดูตัวอย่างการตีคอร์ดในรูปแบบอื่น ๆ โดยแสดงในระบบ tablature ดูบ้าง

ตัวอย่างที่ 1
strum-e1.gif (2217 bytes) ขั้นตอนการเล่น

1. ดีดลงนับ 1 จังหวะ ตวัดมือขึ้นโดยไม่ต้องดีด

2.ดีดลงนับ 1/2 จังหวะตวัดมือดีดขึ้นนับ 1 จังหวะ ตวัดมือลงโดยไม่ต้องดีด

3. ดีดขึ้นนับ 1/2 จังหวะ

4. ดีดลงนับ 1 จังหวะ รวมทั้งสิ้น 4 จังหวะ

ตัวอย่างที่ 2
strum-e2.gif (2265 bytes) ขั้นตอนการเล่น

1. ดีดลงนับ 1 จังหวะ

2. ดีดขึ้นนับ 1/2 จังหวะ

3. ดีดลงนับ 1/2 จังหวะ

4. รวมทั้งสิ้น 2 จังหวะ

ตัวอย่างที่ 3
strum-e3.gif (3080 bytes) ขั้นตอนการเล่น

1. ดีดลงนับ 1 จังหวะ ตวัดมือขึ้นโดยไม่ดีด

2. ดีดลงนับ 1/2 จังหวะ และดีดขึ้นนับ 1/2 จังหวะ

3. ดีดลงนับ 1/2 จังหวะ และดีดขึ้นนับ 1/2 จังหวะ

4. ดีดลงนับ 1/2 จังหวะ และดีดขึ้นนับ 1/2 จังหวะ

5. รวมทั้งสิ้น 4 จังหวะ

ตัวอย่างที่ 4
strum-e4.gif (3239 bytes) ขั้นตอนการเล่น

1. ดีดลงนับ 1/2 จังหวะ และดีดลงนับ 1/2 จังหวะ

2. ดีดลงโดยทำเสียงบอด อุดเสียงด้วยสันมือขวานับ 1/2 จังหวะ และดีดขึ้นนับ 1/2 จังหวะ

3. ดีดลงนับ 1/2 จังหวะ และดีดขึ้นนับ 1/2 จังหวะ

4. ดีดลงโดยทำเสียงบอด อุดเสียงด้วยสันมือขวานับ 1/2 จังหวะ และดีดขึ้นนับ 1/2 จังหวะ

5. รวมทั้งสิ้น 4 จังหวะ

ตัวอย่างที่ 5
strum-e5.gif (2537 bytes) ขั้นตอนการเล่น

1. ดีดลงนับ 1 จังหวะ ตวัดมือขึ้นโดยไม่ต้องดีด

2.ดีดลงโดยทำเสียงบอด อุดเสียงด้วยสันมือขวานับ 1/2 จังหวะ

3. ดีดขึ้นนับ 1 จังหวะ ตวัดมือลงโดยไม่ต้องดีด

4. ดีดขึ้นนับ 1/2 จังหวะ

5. ดีดลงโดยทำเสียงบอด อุดเสียงด้วยสันมือขวานับ 1/2

6. ดีดขึ้นนับ 1/2  จังหวะ รวมทั้งสิ้น 4 จังหวะ

            เวลานับให้นับ 1- และ - 2 -และ .....นะครับ ลองฝึกดูหัดจากช้า ๆ ก่อนสักพักคุณจะคล่องเองแหละครับแรก ๆ อาจจะรู้สึกเก้ง ๆ ก้าง ๆ บ้าง อย่าเพิ่งท้อก็แล้วกัน

            นอกจากตัวอย่างข้างต้นแล้วคุณสามารถจะสร้าง pattern การตีคอร์ดได้เองโดยให้เข้ากับจังหวะของเพลงนั้น ๆ และคุณสามารถหารูปแบบการตีคอร์ดอื่น ๆ ได้จากการฟังเพลงและแกะเพลงให้มาก ๆ หวังว่าเพื่อน ๆ คงจะพอเข้าใจและรู้จักกับการตีคอร์ดมากขึ้นนะครับ ดังนั้นต่อไปเราจะเริ่มฝึกการเกา...กีตาร์ที่หลาย ๆ คนชอบมากกัน

หมายเหตุ : เครื่องหมาย % เป็นเครื่องหมายแสดงว่าเล่นเหมือนกับห้องก่อนหน้านี้ ก็คือเล่นแบบเดียวกันกับห้องที่แล้ว

           2.3 การเกาหรือกระจายคอร์ด (arpeggio)

            การเกากีตาร์หรือที่เรียกว่า picking เป็นอีกสไตล์ในการเล่นกีตาร์ที่มีสเน่ห์มาก แต่ก่อนที่คุณจะฝึกที่จุดนี้คุณควรจะต้องฝึกการตีคอร์ดให้ชำนาญ ทั้งการเปลี่ยนคอร์ดจังหวะการดีดที่สัมพันธ์กัน

p5-2.jpe (67995 bytes)

            ในขั้นแรกผมจะพูดถึงการวางนิ้วก่อนนะครับเพราะว่าสายกีตาร์มี 6 สายแต่เรามี 5 นิ้วดังนั้นเราจึงต้องรู้หน้าที่ของแต่ละนิ้วก่อนดังนี้คือ

            - นิ้วโป้ง ซึ่งถนัดในการดีดสายลง จะควบคุมสายเบส (bases) ทั้งหมด คือสาย 4, 5 และ 6

            - นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง จะถนัดในการเกี่ยวสายขึ้น ดังนั้นจะควบคุม 3 สายล่าง (soprano)โดยที่ นิ้วชี้จะคุมสายที่ 3 นิ้วกลางจะคุมสายที่ 2 และนิ้วนางคุมสายที่ 1ส่วนนิ้วก้อยจะไม่ใช้ในการเกากีตาร์แต่อาจจะใช้ยันกับตัวกีตาร์เพื่อให้มือมั่นคงเป็นต้น

            แต่ทั้งนี้ไม่ใช่กฎตายตัวว่าคุณต้องใช้นิ้วโป้งดีดสายเบส หรือนิ้วชี้ดีดสาย 3 เสมอไปคุณอาจจะเปลี่ยนไปได้ตามความเหมาะสมของเพลง แต่หลัก ๆ ก็ควรจะฝึกแบบนี้ก่อน

 

            การวางมือในท่าเตรียมพร้อมนั้นคือ

                1. วางนิ้วโป้งบนสายเบสเส้นใดเส้นหนึ่ง (ส่วนมากคือเบสของคอร์ดแรกของเพลง)

                2. วางนิ้วชี้ไว้ใต้สาย 3 เพื่อพร้อมจะเกี่ยวขึ้น

                3. วางนิ้วชี้ไว้ใต้สาย 2 เพื่อพร้อมจะเกี่ยวขึ้น

                4. วางนิ้วชี้ไว้ใต้สาย 1 เพื่อพร้อมจะเกี่ยวขึ้น

                5. นิ้วก้อยอาจจะปล่อยไว้ลอย ๆ หรือแตะไว้กับตัวกีตาร์เพื่อให้การวางนิ้วมั่นคงขึ้น

f-position2.gif (3573 bytes)

rh-position1.gif (33769 bytes)rh-position2.jpg (9920 bytes)rh-position3.gif (33262 bytes)

            ขั้นตอนการเกากีตาร์มักจะเริ่มด้วยสายเบสก่อน ดังรูปที่ 1 และ 2 เป็นการใช้นิ้วโป้งหรือ P (หรือ T) จึงตามด้วยสายอื่นตามมา (3 สายล่าง)ด้วย 3 นิ้วที่เหลือ คือนิ้วชี้ i (หรือ 1) , นิ้วกลาง m (หรือ 2), และนิ้วนาง  a (หรือ 3) ดังนั้นขั้นแรกผมจะแนะนำให้คุณรู้จักเบสของแต่ละคอร์ดก่อน ซึ่ง โน๊ตเบสของคอร์ดปกติก็คือ root หรือโน๊ตที่เป็นชื่อคอร์ดนั่นเองเช่นคอร์ด C เบสก็คือ C ส่วนตำแหน่งคุณสามารถหาจากรูปแสดงโน๊ตบนฟิงเกอร์บอร์ดที่อยู่บนสายเบสคือสาย 4, 5 และ 6 โดยอาจจะสรุปได้ดังนี้

            ถ้าเล่นคอร์ดที่ขึ้นด้วยเบส E, G                    ให้ดีดสายเบสเส้นที่ 6

            ถ้าเล่นคอร์ดที่ขึ้นด้วยเบส A, B และ C         ให้ดีดสายเบสเส้นที่ 5

            ถ้าเล่นคอร์ดที่ขึ้นด้วยเบส D, F                    ให้ดีดสายเบสเส้นที่ 4 (คอร์ด F ถ้าใช้ทาบอาจเล่นเบสที่สาย 6)

            อย่างไรก็ตามอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามรูปคอร์ดที่คุณจับ ดังนั้นจะให้ดีที่สุดคุณจึงควรจะรู้ว่าเบสของคอร์ดนี้คืออะไรอยู่ที่ตำแหน่งไหนของนิ้วเมื่อจับคอร์ดดังกล่าวแล้วจะถูกต้องที่สุด

            ต่อไปเราจะมาดูสัญลักษณ์ทาง picking กันก่อนคร่าว ๆ จาก part 2 คุณได้ทราบถึงสัญลักษณ์ของมือซ้ายแล้วผมจะทบทวนอีกทีคือ

            - นิ้วโป้ง แทนด้วย T  (P)

            - นิ้วชี้ แทนด้วย 1 (i)

            - นิ้วชี้ แทนด้วย 2 (m)

            - นิ้วชี้ แทนด้วย 3 (a)

            ซึ่งเป็นระบบ Right Hand Diagram และเหมาะสำหรับฝึกในเบื้องต้นโดยจะบอกเลยว่าใช้นิ้วไหนดีดสายไหน ลองมาดู pattern การเกาในแบบแรกดูก่อนนะครับ

รูปแบบการเกา(สายกีตาร์)แบบต่าง ๆ วิธีการเล่น
rh.gif (1630 bytes) 1. นิ้วโป้งดีดเบสของคอร์ด

2. นิ้วชี้เกี่ยวสาย 3

3. นิ้วกลางเกี่ยวสาย 2

4. นิ้วนางเกี่ยวสาย 1

5. นิ้วกลางเกี่ยวสาย 2

6. นิ้วชี้เกี่ยวสาย 3

7. เปลี่ยนคอร์ด

rh.gif (1630 bytes) 1. นิ้วโป้งดีดเบสของคอร์ด

2. นิ้วชี้เกี่ยวสาย 3

3. นิ้วกลางเกี่ยวสาย 2

4. นิ้วนางเกี่ยวสาย 1

5. เปลี่ยนคอร์ด

rh.gif (1630 bytes) 1. นิ้วโป้งดีดเบสของคอร์ด

2. นิ้วชี้เกี่ยวสาย 3

3. นิ้วกลางเกี่ยวสาย 2

4. นิ้วชี้เกี่ยวสาย 3

5. นิ้วนางเกี่ยวสาย 1

6. นิ้วชี้เกี่ยวสาย 3

7. นิ้วกลางเกี่ยวสาย 2

8. นิ้วชี้เกี่ยวสาย 3

7. เปลี่ยนคอร์ด

rh.gif (1630 bytes) 1. ดีดเบสด้วยนิ้วโป้ง

2. นิ้วชี้เกี่ยวสาย 3

3. นิ้วกลางและนิ้วนาง เกี่ยวสาย 2 และ 1 ตามลำดับ

4. นิ้วชี้เกี่ยวสาย 3

5. เปลี่ยนคอร์ด

rh.gif (1630 bytes) 1. ดีดเบสด้วยนิ้วโป้ง

2. นิ้วชี้เกี่ยวสาย 3

3. นิ้วกลางและนิ้วนาง เกี่ยวสาย 2 และ 1 ตามลำดับ

4. นิ้วชี้เกี่ยวสาย 3

5. นิ้วกลางและนิ้วนาง เกี่ยวสาย 2 และ 1 ตามลำดับ

6. นิ้วชี้เกี่ยวสาย 3

7. เปลี่ยนคอร์ด

rh.gif (1630 bytes) 1. ดีดเบสด้วยนิ้วโป้ง

2. เกี่ยวสาย 3,2 และ 1 ขึ้นพร้อมกันด้วยนิ้วชี้, นิ้วกลาง และนิ้วนางตามลำดับ

3. เกี่ยวสาย 3,2 และ 1 ขึ้นพร้อมกันด้วยนิ้วชี้, นิ้วกลาง และนิ้วนางตามลำดับ

4. เปลี่ยนดีดเบสสลับ

5. เกี่ยวสาย 3,2 และ 1 ขึ้นพร้อมกันด้วยนิ้วชี้, นิ้วกลาง และนิ้วนางตามลำดับ

6. เกี่ยวสาย 3,2 และ 1 ขึ้นพร้อมกันด้วยนิ้วชี้, นิ้วกลาง และนิ้วนางตามลำดับ

7. เปลี่ยนคอร์ด

rh.gif (1630 bytes) 1. ดีดเบสด้วยนิ้วโป้ง

2. เกี่ยวสาย 3,2 และ 1 ขึ้นพร้อมกันด้วยนิ้วชี้, นิ้วกลาง และนิ้วนางตามลำดับ

3. เปลี่ยนดีดเบสสลับ

4. เกี่ยวสาย 3,2 และ 1 ขึ้นพร้อมกันด้วยนิ้วชี้, นิ้วกลาง และนิ้วนางตามลำดับ

5. เปลี่ยนคอร์ด

            อย่างไรก็ตามทั้งหมดที่ผมยกตัวอย่างมาเป็นเพียงแค่การเกาแบบพื้นฐานเท่านั้น ยังมีรูปแบบการเกากีตาร์อีกมากมายเหลือเกิน ซึ่งคุณอาจจะศึกษาจากเพลงต่าง ๆ หรือตำราอื่น ๆ ซึ่งผมจะได้แนะนำการเกาในรูปแบบอื่น ๆ รวมทั้งยกเพลงตัวอย่างและ sound clip มาให้ในภายหลัง

            คุณควรจะพยายามฝึกหัดให้คุ้นกับจังหวะการใช้นิ้วต่าง ๆ ในการเกี่ยวหรือดีดสายให้สัมพันธ์กับจังหวะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อไปเมื่อคุณจะหัดแกะเพลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความขยันในการฝึกฝนและศึกษาเพลงต่าง ๆ

เบสสลับ

            เป็นอีกสีสันหนึ่งในการเกากีตาร์คือมีการสลับเบสในการเกา 1 คอร์ดมีการส่งเบสเพื่อเปลี่ยนคอร์ดเป็นต้นการเล่นสลับเบสก็คือการดีดเบสสลับระหว่างเบสหลักหรือโน๊ตที่เป็น root ของคอร์ดกับเบสซึ่งเป็นโน๊ตลำดับที่ 5 ของสเกลเมเจอร์ ในการไล่โน๊ตปกติเช่น คอร์ด C เบสหลักคือ C หรือสาย 5 ช่องที่ 3 จะหาเบสสลับโดยนับจากโน๊ต C ไป 5 ตัว คือ C - D - E - F - G จะได้ว่าโน๊ต G คือ เบสสลับของคอร์ด C นั่นเอง ซึ่งอยู่บนสาย 6 ช่องที่ 3 ดังนั้นเมื่อคุณจะเล่นเบสสลับกับคอร์ C คุณจะต้องจับคอร์ด C ในอีกแบบหนึ่งคือ

 

            อีกตัวอย่างมาดูคอร์ด A บ้าง เบสหลัก คือ A หรือสายเปล่าเส้นที่ 5 หาเบสสลับโดยนับไป 5 ตัวโน๊ต A - B - C - D - E จะได้ว่า เบสสลับของคอร์ด A คือ E หรือสายเปล่าส้นที่ 6 ดังนั้นสรุปเบสสลับของแต่ละคอร์ดได้ว่า

เบส

คอร์ด

เบสหลัก C สาย 5 ช่อง 3 D สายเปล่า เส้น 4 E สายเปล่า เส้น 6 F สาย 4 ช่อง 3

หรือ สาย 6 ช่อง 1

G สาย 6 ช่อง 3 A สายเปล่า เส้น 5 B สาย 5 ช่อง 2
เบสสลับ G สาย 6 ช่อง 3 A สายเปล่า เส้น 5 B สาย 5 ช่อง 2 C สาย 5 ช่อง 3 D สายเปล่า เส้น 4 E สายเปล่า เส้น 6

หรือ สาย 4 ช่อง 2

F# สาย 6 ช่อง 2

หรือ สาย 4 ช่อง 4

        ในส่วนต่อไปผมจะได้แนะนำถึงเทคนิคพื้นฐานต่าง ๆ ทั้งของมือซ้ายและมือขวาในการเล่นกีตาร์ ในหน้าที่ 3

 

กลับไปหน้าแรก              ไปหน้าที่ 3 ต่อ              กลับไปหน้าหลัก