อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ สำหรับกีตาร์
ในส่วนนี้เรามารู้จักถึงวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบในการเล่นกีตาร์ (ไม่จำเป็นต้องมีทุกอย่างนะครับหาเท่าที่จำเป็นก็พอขึ้นกับคุณเอง) ซึ่งมีอยู่มากมายหลายอย่างบางอย่างก็จำเป็น บางอย่างก็อาจไม่จำเป็นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกีตาร์และสไตล์กีตาร์ของคุณนั่นเอง เอาล่ะลองมาดูซิว่าคุณควรมีอะไรบ้าง
1. ปิคกีตาร์ ก็คือวัสดุที่ใช้ดีดลงบนสายกีตาร์แทนนิ้วหรือเล็บเรา ซึ่งจะเหมาะสำหรับการเล่น strum (การตีคอร์ด) หรือการเล่นโซโลของกีตาร์ไฟฟ้า เป็นต้น ปิคทำมาจากวัสดุหลายประเภท เช่น ไม้ กระดูกสัตว์ งาช้าง(สมัยโบราณนะครับเดี๋ยวนี้คงไม่มีแล้ว) แต่ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคงเป็นแบบที่ทำมาจากพลาสติก เพราะหาง่ายและราคาค่อนข้างจะถูก โดยทั่วไปปิคกีตาร์จะแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ
1.1 ปิคแบน (flat pick) ก็คือปิคทั่ว ๆ ไปที่เราใช้ดีดกีตาร์นั้นแหละครับ โดยทั่วไปในการขายจะแบ่งตามขนาด ได้แก่ แบบ thin,medium และ thick ซึ่งก็คือความหนาตั้งแต่ บาง,หนาปานกลาง และหนามาก ตามลำดับ การใช้งานของแต่ละขนาดก็จะขึ้นอยู่กับความถนัดและสไตล์การเล่นกีตาร์ของแต่ละคนเช่น การตีคอร์ดผมมักจะชอบใช้ปิคบาง(thin)เพราะรู้สึกว่ามันพริ้วกว่า แต่ถ้าผมจะเล่นกีตาร์ไฟฟ้าผมมักจะใช้ปิคแบบหนา เพราะรู้สึกว่ามันใช้โซโลได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้ขึ้นกับความถนัดของแต่ละคนนะครับ
1.2 ปิคนิ้ว (finger pick) เป็นปิคที่ใช้สวมนิ้วเพื่อใช้กับการเล่นแบบ finger picking style (การเกากีตาร์) ซึ่งจะให้เสียงที่คมชัดกว่าใช้เล็บหรือปลายนิ้ว แต่ก็ขึ้นกับความถนัดหรือความชอบของแต่ละคนอีกแหละครับบางคนก็ชอบใช้ บางคนก็ไม่ชอบใช้สไตล์ใครสไตล์มันครับ สำหรับปิคประเภทนี้มีอยู่ 2 แบบได้แก่
- ปิคสำหรับนิ้วชี้, นิ้วกลาง และนิ้วนาง เพื่อใช้ในการเล่นสามสายล่าง
- ปิคสำหรับสวมนิ้วโป้ง (thumb pick)เพื่อใช้ในการเล่นสายเบส
2. คาโป้ (capo) คำว่า capo มาจากคำว่า capotasto ในภาษาสเปนแปลว่าทาบ (bar)หน้าที่ขของมันคือใช้คาดหรือรัดบนคอกีตาร์เพื่อเปลื่อนคีหรือระดับเสียงของกีตาร์แล้วผมจะอธิบายรายละเอียดในเรื่องการเล่นกีตาร์เบื้องต้นอีกครั้งครับ สำหรับคาโป้ยังสามารถแบ่งได้อีกหลายประเภทได้แก่
2.1 แบบใส่จากด้านบนของฟิงเกอร์บอร์ด (attached from above)
2.2 แบบใส่จากด้านข้าง (attached from the side)ก็ยังแบ่งได้อีกเป็น
- แบบยึดด้วยสปริง(attached from the side wth spring)
- แบบยึดด้วยสกรู(attached from the side with screw)
- แบบยึดด้วยแกนเหล็ก(attached from the side with lever)
2.3 แบบ sprinky yoke
2.4 แบบ capo with yoke and spring
2.5 แบบ capo with yoke and screw
2.6 แบบ capo with yoke and lever
2.7 แบบเป็นยางยืดรัด(elastic strap) มีทางแบบผ้ายืด และแบบสปริง
2.8 แบบรัดกับคอกีตาร์(starp)
3. สไลด์กีตาร์ (guitar slide) หรือบางครั้งก็เรียกว่า bottle neck ที่หมายถึงคอขวดนั่นเองเอยากทราบที่มาคลิ๊กเข้าไปดูได้ครับ สำหรับเจ้าตัวสไลด์นี้เป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่เราคงเคยเห็นนักดนตรีบางคนเล่นมาแล้วโดยใช้เจ้าสไลด์นี้สวมนิ้วแล้วเลื่อนไปตามคอกีตาร์ ซึ่งมันช่วยทำให้เราได้สำเนียงกีตาร์ในอีกรูปแบบหนึ่งออกมาส่วนมากมักเป็นเพลงประเภทเพลงบลูส์ วัสดุที่ใช้ทำมักจะมี 2 ชนิดคือ
3.1 สไลด์แก้ว ทำจากวัสดุประเภทแก้ว จะให้เสียงที่ค่อนข้างนุ่มนวลกว่า
3.2 สไลด์โลหะ จะให้เสียงที่ใสกว่า
และถ้าแบ่งตามลักษณะการใช้งานก็จะแบ่งได้เป็น
- แบบเป็นท่อใช้สวมนิ้ว
- แบบที่ใช้เล่นกับกีตาร์ที่เล่นในแนวราบ เช่นกีตาร์ steel
ส่วนจะเลือกใช้แบบไหนขึ้นอยู่กับความชอบความถนัด จะเลือกแบบยาวเพื่อทาบทั้งคอกีตาร์ หรือแบบสั้นที่สวมครึ่งนิ้วไว้ใช้โซโล จะเป็นแบบแก้วหรือแบบเหล็กก็แล้วแต่ความชอบครับต้องลองใช้ดูเอาเอง
4. ปิคอัฟ (pick up) หรือที่เรามักเรียกกันติดปากว่า คอนแทค นั่นแหละครับ ตอนผมเล่นกีตาร์ใหม่ ๆ ผมก็เรียกอย่างนี้เหมือนกันแต่ว่าชื่อที่ถูกต้องจริง ๆ คือ pick up ผมไม่แน่ใจว่าคำว่าคอนแทคมาจากไหนเหมือนกันอาจจะมาจากการที่เจ้าตัวนี้มันติดอยู่บนด้านหน้าของกีตาร์กระมังเพราะคำาว่าคอนแทค(contact)แปลว่าสัมผัส หรือติดต่อ คราวนี้เราจะมาพูดกันถึงประเภทของมันบ้างผมอยากจะแบ่งตามการใช้งานนะครับซึ่งน่าจะแบ่งได้ 2 พวกใหญ่ ๆ คือ
4.1 ปิคอัฟสำหรับ กีตาร์โปร่ง ใช้สำหรับประกอบกับกีตาร์โปร่งเพื่อให้ต่อเข้าแอมป์เวลาเล่น มีหลายชนิดเช่นแบบที่ใช้ติดที่โพรงเสียง แบบที่ติดทใต้สะพานสาย หรือแบบที่ติดที่ใต้หย่อง เป็นต้น
4.2 ปิคอัฟสำหรับกีตาร์ไฟฟ้า ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของกีตาร์ไฟฟ้าก็ว่าได้จะมีอยู่ 2 แบบใหญ ๆ คือ แบบ single coin และแบบ humbacking หมายถึงเป็นแบบที่ใช้เส้นลวดพันรอบแกนแม่เหล็กแกนเดียว และแบบ 2 แกนคู่กัน ตามลำดับ ซึ่งจะให้เสียงที่ออกมาต่างกันด้วย
5. เอฟเฟ็ค (effect) แทบจะปฏิเสธไม่ได้เลยสำหรับผู้ที่ชอบเล่นกีตาร์ไฟฟ้า ว่าไม่ต้องการเจ้าสิ่งนี้เพราะมันสามารถทำให้เราปรับแต่งเสียงกีตาร์ของเราได้อย่างอิสระ เช่นต้องการเสียงที่แตกมาก ๆ ต้องการเสียงลากยาว ๆ อะไรประมาณนี้ (จริง ๆ ผมไม่ค่อยจะมีความรู้เรื่องเอฟเฟ็คมากนักแค่พอรู้น่ะครับ ) เอฟเฟ็คในท้องตลาดมีมากมายหลายยี่ห้อและอีกหลากหลายประเภทตามจุดประสงค์การใช้งานเท่าที่ผมเห็นก็น่าจะมีอยู่ 2 พวกใหญ่ ๆ คือ
5.1 ประเภท foot control หรือที่เราเห็นกันอยู่ทั่ว ๆ ไป ที่นักดนตรีเขาใช้เท้าเหยียบ ๆ นั่นแหละครับ(บางคนเรียกว่าเอฟเฟ็คแบบก้อน)ซึ่งยังแบ่งได้อีก 2 ประเภทคือตัวเดียวก็เป็นเอฟเฟ็คอย่างเดียวเลยเช่น distortion ก็จะทำหน้าที่เป็น distortion อย่างเดียวเลย ในขณะที่อีกประเภทจะเป็นเอฟเฟ็ครวม มีเอฟเฟ็คหลาย ๆ ประเภทอยู่ในตัวเดียวกัน ซึ่งแล้วแต่ใครจะชอบแบบไหน แต่นักดนตรีหลายคนยังชอบแบบแรกมากกว่าเพราะมีความคลาสสิกกว่าและเสียงที่ได้มามันสะใจกว่าอีกแบบ(ผมฟังเค้าเล่ามาครับ)
5.2 ประเภท rack ประเภทนี้ผมไม่ค่อยจะเห็นเท่าไรเลยไม่รู้ว่าใช้ยังไง แต่บนเวทีมักไม่ค่อยเห็นเท่าไรส่วนมากจะใช้แบบแรกมากกว่า หรืออาจจะใช้ในห้องอัดในสตูดิโอเพราะตัวใหญ่และราคาค่อนข้างจะสูงไม่สะดวกในการพกพาไปเล่นตามที่ไหน ๆ ถ้าใครมีข้อมูลตรงนี้ช่วยส่งมาให้ด้วยจะเป็นพระคุณอย่างสูงเลยครับนึกว่าเป็นวิทยาทานแล็วกัน
6. แอมป์์ สำหรับผู้ที่เล่นกีตาร์ไฟฟ้าแล้วมันก็คือสิ่งจำเป็นอีกอย่างที่ขาดไม่ได้ แต่ผู้ที่เล่นกีตาร์โปร่งธรรมดาอาจไม่ต้องมีก็ได้ หน้าที่ของมันก็คือการแปลงและขยายสัญญาณไฟฟ้าที่มาตามสายแจ็คจากกีตาร์ให้เป็นเสียงกีตาร์และสามารถปรับแต่งคุณสมบัติของเสียงได้เช่นความดัง-เบา หรือความทุ้ม-แหลมเป็นต้น นอกจากนี้แอมป์บางรุ่นยังมีเอฟเฟ็คบางตัวติดตั้งมาด้วยเช่นมี overdrive เป็นต้น (แบบของผมแหละครับ) แอมป์มีหลายแบบหลายสไตล์ ทั้งแบบ mono , stereo (ถ้าเล่นกีตาร์น่าเป็น mono ก็พอ) นอกจากนี้ยังมี พรีแอมป์อีก แอมป์ที่มีขายนั้นมักจะบอกเป็นวัตถ์ว่าแอมป์ตัวนี้กีวัตถ์ตัวนั้นกี่วัตถ์เป็นต้นกำลังวัตถ์มากกำลังขับก็สูง ราคาก็สูงตามไปด้วย
7. อุปกรณอื่น ๆ นอกจากอุปกรณ์หลัก ๆ ที่ได้กล่าวไปแล้วก็ยังมีอุปกรณเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างอื่นที่น่ารู้ไว้ได้แก่
7.1 สายสะพาย สำหรับท่านที่อาจจะต้องไปยืนเล่นเพื่อเล่นในงานตามวาระต่าง ๆ คงต้องใช้เจ้าสิ่งนี้ครับ หาซื้อไม่ยากนักอีทั้งราคาก็ไม่แพงจนเกินไป มีรูปแบบลวดลายมากมายให้เลือกอีกต่างหาก
7.2 ซองหรือกล่องใส่กีตาร์ เพื่อการเก็บรักษากีตาร์ของท่านให้ปลอดภัยจากการถูกกระแทกจากสิ่งอื่น(ที่ไม่รุนแรงจนเกินไป) หรือเพื่อการเคลื่อนย้ายเอาติดตัวไปเที่ยวเป็นต้น ทำให้สะดวกในการพกพาและป้องการการกระทบกระเทือน และริ้วรอยต่าง ๆ ได้
7.3 น้ำยาขัดเงากีตาร์ เพื่อความสวยงามดูใหม่อยู่เสมอของกีตาร์ของคุณ คุณน่าจะมีไว้ซักกระป๋อง เพราะเมื่อเราเล่นไปนาน ๆ คราบเหงื่อไคลสิ่งสกปรกต่าง ๆ จะจับบนตัวกีตาร์จนดูไม่สวยงาม แต่ก็ไม่ควรจะขัดให้บ่อยจนเกินไปนัก
7.4 น้ำยาเช็ดสายกีตาร์ ผมว่าน่าจะมีไว้ซักขวดก็ดีเพราะเมื่อเราเล่นกีตาร์ไปสักระยะคราบเหงื่อไคล สิ่งสกปรกต่าง ๆ จะจับสายกีตาร์ของคุณจนทำให้คุณภาพเสียงของกีตาร์คุณด้อยลงไป ดังนั้นอาจจะเช็ดสายกีตารืคุณสักเดือนสองเดือนครั้งก็จะดีมาก (ผมก็ใช้ยี่ห้อที่เห็นในรูปเหมือนกัน)
7.5 ขาตั้งหรือที่แขวนกีตาร์ สำหรับผู้ทีรักกีตาร์คงอยากจะเห็นกีตาร์ของคุณตั้งหรือแขวนโชว์อยู่ในห้องมากกว่าให้มันอยู่ในกล่อง หรือซองใส่ ก็ลองไปหาซื้อมาใช้ได้ครับไม่ถึงกับแพงอะไรมากมาย
7.6 ที่ช่วยหมุนลูกบิด ใช้เวลาที่คุณเปลี่ยนสายกีตาร์ซึ่งต้องหมุนลูกบิดเป็นเวลานานกว่าสายแต่ละสายจะได้ระดับเสียงที่ถูกต้อง ถ้าใช้มือหมุนบางที่ก็ทำให้เมื่อยเอาการเลยครับยิ่งเปลี่ยนทั้ง 6 สายด้วยละก็ได้เมื่อยเลยครับ แต่ถ้าใช้เจ้าเครื่องมือนี้มันจะทุ่นแรงคุณได้มากเลยครับแค่สวมเข้ากับลูกบิดแล้วก็หมุนก้านของมัน ไม่ต้องมาใช้นิ้วบิดลูกบิดให้เมื่อย(ดูภาพล่างขวา)
7.7 หลอดเทียบเสียง หรือเครื่องตั้งสายกีตาร์ ระดับเสียงของกีตาร์นั้นควรจะอยู่ในระดับที่มาตรฐานเพราะเวลาเราหัด หรือแกะเพลงก็จะง่ายขึ้น ยิ่งสำหรับผู้ที่หัดกีตาร์ใหม่ ๆ น่าจะหาไว้สักอย่างและคอยหมั่นเช็คว่ากีตาร์คุณเสียงเพี้ยนหรือไม่ซึ่งจะเป็นการฝึกให้คุณคุ้กับเสียงของกีตาร์อีกต่างหาก และยังมีแบบที่เป็นเครื่องดิจิตอลซึ่งอาศัยหลักการจับความถี่ของเสียงแต่ละสายและโน๊ตแต่ละตัวมีความถี่มาตรฐานของมัน (ภาพบนซ้ายเป็นเครื่องตั้งสายดิจิตอล) หลอดเทียบเสียงมีราคาไม่แพงนักแต่อาจต้องใช้สมาธิและประสาทหูพอสมควรสำหรับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคย แต่ถ้าเป็นแบบเครื่องตั้งสายนั้นง่ายยิ่งกว่านับ 1..2..3..อีกครับ
7.8 อุปกรณอื่น อีกเช่นผ้าสำหรับเช็ดทำความสะอาดก็ควรจะเป็นผ้าที่มีคุณภาพดีและใช้เฉพาะเช็ดกีตาร์อย่างเดียว ที่เก็บปิคแบบติดกับตัวกีตาร์ สายแจ็คความยาวขนาดต่างๆ ขาหนีบเม้าออร์แกน(สำหรับผู้ที่ชอบเล่นเม้าออร์แกนและเล่นกีตาร์ไปด้วย) เป็นต้น